วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บันทึกสะท้อนคิดสัปดาห์ที่4ประจำวันศุกร์ที่3กรกฎาคม พ.ศ.2558

       วันนี้วันศุกร์ครูให้เล่นวงกลมโยนบอลแต่ครูเห็นนักเรียนบ้างคนแย่งของจากเพื่อนไม่ได้จึงแสดงแสดงอาการก้าวร้าว อาละวาดตามวัยอาละวาดแบบนี้เกิดในเด็กเล็กวัย 2-5 ปี ยังเป็นวัยที่พัฒนาการทางอารมณ์ สังคม จะยึดตนเองเป็นหลัก ขาดการควบคุมอารมณ์ตนเอง หรือเด็กบางคนมีพื้นเพทางอารมณ์ที่เด็กเลี้ยงยาก ปรับตัวยาก จึงเกิดความขับข้องใจและแสดงออกโดยการอาละวาดได้บ่อย เช่น เด็ก 2 ขวบแย่งของเล่นจากเด็กคนอื่น เด็ก 3 ขวบลงไปนอนกับพื้นร้องเสียงดัง เพื่อจะได้เล่น ถึงแม้จะเป็นก้าวร้าวตามวัย พ่อแม่และครูควรที่จะช่วยเหลือปรับพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กก้าวร้าว อาละวาดจากการเลี้ยงดู

         เด็กที่พ่อแม่เลี้ยงดูตามใจ ขาดกฎเกณฑ์ วินัย ขาดการสอนหรือสื่อความหมาย เมื่อทำความผิดถูกลงโทษหรือเห็นตัวอย่างแก้ปัญหาที่รุนแรงทั้งกายและใจ ถูกยั่วยุอารมณ์บ่อยๆจะทำให้เกิดความก้าวร้าว การเลี้ยงดูจึงมีบทบาทสำคัญมากต่อการป้องกันและการแก้ไขพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม

การแก้ปัญหา

1.      ควบคุมอารมณ์อย่าก้าวร้าวตอบ ถือเสียว่าเป็นโอกาสที่เราจะได้สอนเด็กๆ

2.      ถ้าทำร้ายตนเอง ผู้อื่นหรือข้าวของให้หยุดพฤติกรรมก้าวร้าวด้วยความสงบ หนักแน่น เอาจริงเช่น จับมือเด็กไม่ให้ปาของ หรือตีคนอื่น

3.      ถ้าอาละวาดให้หยุดความสนใจ จนกว่าเด็กสงบ พร้อมสื่อให้เด็กรู้ว่าจะเข้ามาหา เมื่อเขาสงบแล้ว


วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

นับทึกสะท้อนคิดสัปดาห์ที่4ประจำวันพฤหัสบดีที่2 กรกฎาคม พ.ศ.2558

   😜😜ปัญหาการแย่งของเล่น (Fighting over Toys Issues) หมายถึง การที่เด็กอยากเล่นของเล่นชิ้นเดียวกัน แต่ขาดทักษะในการเล่นร่วมกันกับผู้อื่น หรือทักษะในการแบ่งปัน จึงเกิดการยื้อแย่งเพื่อให้ได้ของเล่นชิ้นนั้นมาครอบครอง ทั้งนี้เพราะ เด็กกับของเล่นเป็นของคู่กัน การแบ่งของเล่นและการแย่งของเล่นเองก็เป็นของคู่กัน ดังนั้น เด็กที่แย่งของเล่นกันจึงไม่จัดว่าเป็นเด็กที่มีความผิดปกติแต่อย่างใด เว้นเสียแต่ว่าพฤติกรรมการแย่งของเล่นดังกล่าวเกินกว่าระดับที่ครูจะหยุดยั้งได้ และพฤติกรรมที่เหมาะสมไม่สามารถได้รับการปลูกฝังแทนที่ได้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องสมควรอย่างยิ่งที่
😤😤ปัญหาการแย่งของเล่นต้องได้รับการแก้ไขตั้งแต่เด็กเริ่มเรียนรู้การเล่นร่วมกับผู้อื่น เพื่อเปลี่ยนจากการแย่งกัน ซึ่งมักนำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้ง ให้กลายเป็น “การแบ่งปัน” ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อเด็กไปได้ตลอดชีวิต เพราะเด็กทุกคนจำเป็นต้องเก็บเกี่ยวประสบการณ์ เพื่อให้เข้าใจโลกใบนี้และเพื่อเติบโต เด็กต้องเรียนรู้สิ่งของต่างๆ รอบตัว รวมถึงผู้คนรอบข้าง เพื่อพัฒนาทักษะต่างๆ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และจริยธรรม ซึ่งบทเรียนเหล่านั้น เด็กสามารถได้รับจากการเล่น “ของเล่น” และการเล่นของเล่นร่วมกับเพื่อนๆ

บันทึกสะท้อนคิดประจำสัปดาห์ที่4ประจำวันพุธที่1กรกฎาคม พ.ศ.2558

ปัญหานักเรียนแกล้งเพื่อน

พฤติกรรมทางกายหรือวาจาที่ก้าวร้าว ข่มขู่คนอื่น โอ้อวด โดยมักบอกว่าผู้อื่นจะมาเอาเปรียบ หรือข่มเหงตนจึงต้องโต้เถียง ต่อต้าน มักแสดงความคิดเห็นดูถูกคนอื่นหรือสิ่งที่สังคมนิยม มักพบร่วมกับปัญหาการเรียน
          อาจไม่แสดงพฤติกรรมระหว่างอยู่ในห้องเรียนเหล่านี้ให้ครูเห็น บางครั้งเด็กจะรวมกลุ่มกันแกล้งเพื่อ หรือแกล้งคนเดียว หรือชกต่อยต่อสู้ พบว่าผู้ปกครองหลายคนก็สนับสนุนให้เด็กใช้กำลังกับผู้อื่นด้วย

สาเหตุ 
          1. ต้องการความสนใจจากเพื่อนและผู้ใหญ่

          2. อยากรู้สึกว่ามีอำนาจ โดยการแสดงพลังจากการที่คุมคนอื่นได้

          3.เป็นการเรียนรู้จากครอบครัวหรือที่อื่นว่า การจะอยู่ในกลุ่ม จะต้องเหนือกว่า คนอื่นเท่านั้น

          4.บางรายเด็กกลัวว่าคนอื่นจะทำตนก่อน จึงต้องรีบชิงแสดงออกก่อน


          ผลเสียของพฤติกรรม
          1. ทำให้เพื่อนหรือทั้งห้องเรียนอยู่ในความกลัว 
          2. คนรอบข้างต้องงดใช้สิทธิส่วนตัวหลายอย่าง 
          3.ทำให้บรรยากาศห้องเรียนตึงเครียด พร้อมจะเกิดความรุนแรง เนื่องจากเด็กคนอื่นอาจมีความรู้สึกอยากแสดงออกกลับคืนบ้าง เพราะคนที่มีพฤติกรรมคนนี้หรือกลุ่มนี้มีอำนาจและได้ความสนใจ เด็กบางคนที่อ่อนแออาจไม่อยากมาโรงเรียน
          4. ครูรู้สึกว่าตนเองไม่มีอำนาจจะจัดการเด็กได้ เนื่องจากเด็กอาจแข็งแรงกว่าครูแล้ว

การแก้ไขและช่วยเหลือง
          1. ใช้วิธี “ล่วงเวลา” กับเด็กที่ชอบขู่คนอื่น โดยการกักให้อยู่เย็นหลังเลิกเรียน ครูเองก็จะมีเวลาคิดว่าจะจัดการอย่างไรต่อไป บอกให้เด็กทราบผลเสียที่อาจจะตามมา แต่อย่าบอกบทลงโทษทั้งหมด
          2. อย่าสรุปว่าเด็กที่ชอบรังแกคนอื่นจะ แกร่ง หลายครั้งที่พบว่าเด็กมีจิตใจอ่อนแอมากแต่ทำเป็นแข็งแกร่งเพื่อเป็นการชดเชย
          3. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีแบบส่วนตัวกับเด็กกลุ่มนี้ ซึ่งเด็กมักไม่เคยได้รับมาก่อน
          4. แสดงความอ่อนโยนแทนที่จะแสดงความโหดร้าย เด็กพวกนี้มักโต้ตอบกับคนก้าวร้าว เป็น แต่ไม่รู้จะสู้กับความอ่อนโยนอย่างไร อย่าแสดงความโหดร้าย เป็นตัวอย่างในการแก้ปัญหากับเขา 
          5. ช่วยเด็กออกจากวงจรร้าย ที่เด็กพวกนี้อาจถูกท้าทายจากจากสิ่งรอบตัวอยู่เรื่อยๆ ด้วยการสอนให้เด็กเหล่านี้รับมือกับคำท้าว่า “ครูไม่อนุญาตให้ฉันสู้”
          6. สร้างบทบาทใหม่ให้เด็กเกเรเป็นเด็กที่มีประโยชน์กับส่วนรวม
          7. คุยกับเด็กตรงๆถึงความรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเองและการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ หาทางออกให้เด็กได้ปลดปล่อยพลังงานอย่างเหมาะสม อย่างกีฬา
          8. ชมพฤติกรรมดีๆใหม่ว่า “อย่างนี้เรียกว่าเข้มแข็ง”
          9. จัดกิจกรรมซึ่งอาจให้เด็กเหล่านี้ได้เป็นผู้นำ 
          10. แสดงให้เด็กเห็นว่า เราสนใจ เคารพและเชื่อใจในตัวเขา  
          11. สื่อสารปัญหานี้กับผู้ปกครองของเด็กโดยลำพัง
          12. แสดงออกชัดเจนว่าเราชอบเขา แต่ไม่ชอบพฤติกรรมของเขา และจะไม่อดทนให้เขาประพฤติกรรมอย่างนี้



วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บันทึกสะท้อนคิดสัปดาห์ที่4ประจำวันอังคารที่30มิถุนายน พ.ศ.2558


วันนี้อากาศดีฝนบ่อยๆส่งผลให้เด็กๆๆฉี่รดที่นอนมากกว่าปกติ  เด็กที่มีปัญหาในเรื่องการฉี่รดที่นอนเป็นประจำ ส่วนใหญ่จะสามารถหยุดพฤติกรรมได้ในช่วงระหว่างอายุ 3 ขวบถึง 10 ขวบ ถ้ายิ่งพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเคยมีปัญหานี้มาก่อน ลูกก็อาจจะหยุดพฤติกรรมนี้ได้ในเวลาไล่เลี่ยกับอายุของพ่อหรือแม่ ที่สามารถหยุดพฤติกรรมนั้นได้เช่นกัน พยายามใช้คำพูดที่นิ่มนวลอันนี้ครูควรแนะนำ  และพยายามบอกให้ลูก(นักเรียน) รู้จักฝึกอดกลั้นไม่ปัสสาวะบ่อยๆ โดยพยายามยืดช่วงเวลาให้นานขึ้น ในแต่ละครั้งที่เข้าห้องน้ำ แต่ถ้าลูก(นักเรียน)ไม่ยอมก็ไม่ต้องไปบังคับ ทำบ่อยๆบอกบ่อยๆค่อยๆฝึก

บันทึกสะท้อนคิดสัปดาห์ที่4ประจำวันจันทร์ที่29มิถุนายน พ.ศ.2558

         วันนี้เป็นจันทร์ที่หนักหนาสาหัสมากเด็กมามากขาด1คนเท่านั้นทุกอย่างดำเนินไปอย่างช้าๆๆเพราะคนมากงานเสร็จเร็วแต่ไม่สวย ทำให้ครูเดินดูเด็ก  เด็กบ้างคนก็สนุก ไม่ตั้งใจทำงานที่มอบให้มั่วแต่คุยกันและหยอกล้อกันทำให้ผลของงานออกมาไม่น่าพอใจนัก ครูร้องเพลงช่วยขณะทำงานและเดินไปรอบๆๆจึงทำและทำให้ผลงานออกมาดีขึ้นจะเห็นได้ว่าเด็กๆๆต้องการการเอาใจใส่การดูแลอย่างใกล้ชิดพูดกับเค้าและบอกสอนไปในตัวพร้อมกับท่าทางการแสดงออกซึ้งความรักกับพวกเค้า

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บัทึกสะท้อนคิดสัปดาที่3ประจำวันศุกร์ที่26มิถุนายน พ.ศ.2558

วันนี้เป็นวันศุกร์ครูนำนักเรียนร้องเล่นรำก่อนที่ เจ้าหน้าที่จากร.พ.สตถนนโพธิ์ จะมาให้ความรู้และสอนวิธีแปรงฟันให้กับนักเรียน ผลปรากฎว่าผลงานที่ตรวจดูมีความสนใจฟังดีแต่ถึงเวลาร้องให้ก็มีไม่ยอมให้ความร่วมมือแต่ครูมีวิตามินซีมาแจกใครให้คุณหมอดูฟันคุณครูจะให้กินวิตามินแค่นั้นเป็นอันเรียบร้อย