ปัญหานักเรียนแกล้งเพื่อน
พฤติกรรมทางกายหรือวาจาที่ก้าวร้าว ข่มขู่คนอื่น โอ้อวด โดยมักบอกว่าผู้อื่นจะมาเอาเปรียบ หรือข่มเหงตนจึงต้องโต้เถียง ต่อต้าน มักแสดงความคิดเห็นดูถูกคนอื่นหรือสิ่งที่สังคมนิยม มักพบร่วมกับปัญหาการเรียน
อาจไม่แสดงพฤติกรรมระหว่างอยู่ในห้องเรียนเหล่านี้ให้ครูเห็น บางครั้งเด็กจะรวมกลุ่มกันแกล้งเพื่อ หรือแกล้งคนเดียว หรือชกต่อยต่อสู้ พบว่าผู้ปกครองหลายคนก็สนับสนุนให้เด็กใช้กำลังกับผู้อื่นด้วย
สาเหตุ
1. ต้องการความสนใจจากเพื่อนและผู้ใหญ่
2. อยากรู้สึกว่ามีอำนาจ โดยการแสดงพลังจากการที่คุมคนอื่นได้
3.เป็นการเรียนรู้จากครอบครัวหรือที่อื่นว่า การจะอยู่ในกลุ่ม จะต้องเหนือกว่า คนอื่นเท่านั้น
4.บางรายเด็กกลัวว่าคนอื่นจะทำตนก่อน จึงต้องรีบชิงแสดงออกก่อน
ผลเสียของพฤติกรรม
1. ทำให้เพื่อนหรือทั้งห้องเรียนอยู่ในความกลัว
2. คนรอบข้างต้องงดใช้สิทธิส่วนตัวหลายอย่าง
3.ทำให้บรรยากาศห้องเรียนตึงเครียด พร้อมจะเกิดความรุนแรง เนื่องจากเด็กคนอื่นอาจมีความรู้สึกอยากแสดงออกกลับคืนบ้าง เพราะคนที่มีพฤติกรรมคนนี้หรือกลุ่มนี้มีอำนาจและได้ความสนใจ เด็กบางคนที่อ่อนแออาจไม่อยากมาโรงเรียน
4. ครูรู้สึกว่าตนเองไม่มีอำนาจจะจัดการเด็กได้ เนื่องจากเด็กอาจแข็งแรงกว่าครูแล้ว
การแก้ไขและช่วยเหลือง
1. ใช้วิธี “ล่วงเวลา” กับเด็กที่ชอบขู่คนอื่น โดยการกักให้อยู่เย็นหลังเลิกเรียน ครูเองก็จะมีเวลาคิดว่าจะจัดการอย่างไรต่อไป บอกให้เด็กทราบผลเสียที่อาจจะตามมา แต่อย่าบอกบทลงโทษทั้งหมด
2. อย่าสรุปว่าเด็กที่ชอบรังแกคนอื่นจะ แกร่ง หลายครั้งที่พบว่าเด็กมีจิตใจอ่อนแอมากแต่ทำเป็นแข็งแกร่งเพื่อเป็นการชดเชย
3. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีแบบส่วนตัวกับเด็กกลุ่มนี้ ซึ่งเด็กมักไม่เคยได้รับมาก่อน
4. แสดงความอ่อนโยนแทนที่จะแสดงความโหดร้าย เด็กพวกนี้มักโต้ตอบกับคนก้าวร้าว เป็น แต่ไม่รู้จะสู้กับความอ่อนโยนอย่างไร อย่าแสดงความโหดร้าย เป็นตัวอย่างในการแก้ปัญหากับเขา
5. ช่วยเด็กออกจากวงจรร้าย ที่เด็กพวกนี้อาจถูกท้าทายจากจากสิ่งรอบตัวอยู่เรื่อยๆ ด้วยการสอนให้เด็กเหล่านี้รับมือกับคำท้าว่า “ครูไม่อนุญาตให้ฉันสู้”
6. สร้างบทบาทใหม่ให้เด็กเกเรเป็นเด็กที่มีประโยชน์กับส่วนรวม
7. คุยกับเด็กตรงๆถึงความรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเองและการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ หาทางออกให้เด็กได้ปลดปล่อยพลังงานอย่างเหมาะสม อย่างกีฬา
8. ชมพฤติกรรมดีๆใหม่ว่า “อย่างนี้เรียกว่าเข้มแข็ง”
9. จัดกิจกรรมซึ่งอาจให้เด็กเหล่านี้ได้เป็นผู้นำ
10. แสดงให้เด็กเห็นว่า เราสนใจ เคารพและเชื่อใจในตัวเขา
11. สื่อสารปัญหานี้กับผู้ปกครองของเด็กโดยลำพัง
12. แสดงออกชัดเจนว่าเราชอบเขา แต่ไม่ชอบพฤติกรรมของเขา และจะไม่อดทนให้เขาประพฤติกรรมอย่างนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น